วันพุธที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2553

ประวัติของคอมพิวเตอร์

  • [ ประมาณ 2,600 ปีก่อนคริสตกาล ] ชาวจีนได้ประดิษฐ์เครื่องมือเพื่อใช้ในการคำนวณขึ้นมาชนิดหนึ่ง เรียกว่า ลูกคิด ( Abacus)

  •  พ.ศ.2393 ] ยอร์จ บูล ( George Boole) นักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษ ได้คิดระบบ พีชคณิตระบบใหม่เรียกว่า Boolean Algebra โดยใช้อธิบายหลักเหตุผลทางตรรกวิทยาโดยใช้สภาวะเพียงสองอย่างคือ True (On) และ False (Off) ร่วมกับเครื่องหมายในทางตรรกะพื้นฐาน ได้แก่ NOT AND และ OR ต่อมาระบบเลขฐานสอง และ Boolean Algebra ก็ได้ถูกนำมาดัดแปลงให้เข้ากับวงจรไฟฟ้า ซึ่งมีสภาวะ 2 แบบ คือ เปิด , ปิด จึงนับเป็นรากฐานของการออกแบบวงจรในระบบคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน (Digital Computer)
    • [ พ.ศ. 2158 ] นักคณิตศาสตร์ชาวสก็อตแลนด์ชื่อ John Napier ได้ประดิษฐ์อุปกรณ์ที่ใช้ช่วยในการคำนวณขึ้นมาเรียกว่า Napier’s Bones เป็นอุปกรณ์ที่มีลักษณะคล้ายกับตารางสูตรคูณในปัจจุบัน
    • [ พ.ศ.2173 ] วิลเลียม ออตเทรต( William Oughtred) นักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษได้ประดิษฐ์ไม้บรรทัดคำนวณ ( Slide Rule) ซึ่ง ต่อมากลายเป็นพื้นฐานของการสร้างคอมพิวเตอร์แบบอนาลอก 
    •  พ.ศ.2214 ] กอตฟริต วิลเฮล์ม ไลบ์นิซ ( Gottfried Wilhelm Leibniz ) นักคณิตศาสตร์ชาวเยอรมัน ได้ปรับปรุงเครื่องคิดเลขปาสคาล ให้ทำงานได้ดีกว่าเดิม และเขายังค้นพบเลขฐานสอง (Binary number)
    • [ พ.ศ.2288 ] โจเซฟ แมรี่ แจคคาร์ด ( Joseph Marie Jacquard) เป็นชาวฝรั่งเศสได้คิด เครื่องทอผ้า โดยใช้คำสั่งจากบัตรเจาะรูควบคุมการทดผ้าให้มีสีแ[ พ.ศ.2365 ] ชาร์ล แบบเบจ ( Charles Babbage) นักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษได้ประดิษฐ์เครื่องมือที่เรียกว่าเครื่องหาผลต่าง ( Difference Engine) เพื่อใช้คำนวณและพิมพ์ ค่าทางตรีโกณมิติและฟังก์ชันทางคณิตศาสตร์ แบบเบจได้พยายามสร้าง เครื่องคำนวณอีกชนิดหนึ่งเรียกว่า Analytical Engine โดยมีแนวคิดให้แบ่งการทำงานของเครื่องออกเป็น 3 ส่วนคือ ส่วนเก็บข้อมูล (Store unit), ส่วนควบคุม (Control unit) และส่วนคำนวณ (Arithmetic unit) ซึ่งแนวคิดนี้ได้รับการนำมาใช้เป็นต้นแบบของเครื่องคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน จึงยกย่องแบบเบจ ว่าเป็นบิดาแห่งเครื่องคอมพิวเตอร์ เลดี้ เอดา ออคุสตา เลฟเลค ( Lady Ada Augusta Lovelace ) เป็นนักคณิตศาสตร์ที่เข้าใจผลงานของแบบเบจ ได้เขียนวิธีการใช้เครื่องคำนวณของแบบเบจเพื่อแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์เล่มหนึ่ง ต่อมา เลดี้ เอดา ออคุสตา เลฟเลค จึงได้รับการยกย่องว่าเป็นโปรแกรมเมอร์คนแรกของโลก ละลวดลายต่าง ๆ
    •  [ พ.ศ.2480-2481 ] ดร.จอห์น วินเซนต์ อตานาซอฟ ( Dr.Jobn Vincent Atansoff) และ คลิฟฟอร์ด แบรี่ ( Clifford Berry) ได้ประดิษฐ์เครื่อง ABC ( Atanasoff-Berry) ขึ้น โดยได้นำหลอดสุญญากาศมาใช้งาน ABC ถือเป็นเครื่องคำนวณเครื่องแรกที่เป็นเครื่องอิเล็กทรอนิกส์
    • [ พ.ศ.2487 ] ศาสตราจารย์โอเวิร์ด ไอด์เคน (Howard Aiken) แห่งมหาวิทยาลัยฮาวาร์ด ร่วมกับวิศวกรของบริษัทไอบีเอ็มได้สร้างเครื่อง MARK I เป็นผลสำเร็จ แ ต่อย่างไรก็ตามเครื่อง MARK I นี้ยังไม่ใช่คอมพิวเตอร์ที่แท้จริงแต่เป็นเครื่องคิดเลขไฟฟ้าขนาดใหญ่เท่านั้น
    •  [ พ.ศ.2485-2495 ] มหาวิทยาลัยเพนซิลเลเนียได้สร้างเครื่อง ENIAC (Electronic Numerical Integrator And Calculator) นับได้ว่าเป็นเครื่องคำนวณอิเล็กทรอนิกส์เครื่องแรกของโลกที่ใช้หลอดสูญญากาศ และควบคุมการทำงานโดยวิธีเจาะชุดคำสั่งลงในบัตรเจาะรู
    •  [ พ.ศ.2492 ] ดร.จอห์น ฟอน นิวแมนน์ ( Dr.John Von Neumann ) ได้สร้างเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สามารถเก็บคำสั่งการปฏิบัติงานทั้งหมดไว้ภายในเครื่อง ชื่อว่า EDVAC นับเป็นคอมพิวเตอร์เครี่องแรกที่สามารถเก็บโปรแกรม ไว้ในเครื่องได้ 
    • พ.ศ.2496-2497 ] บริษัทไอบีเอ็มได้สร้างคอมพิวเตอร์ชื่อ IBM 701 และ IBM 650 โดยใช้หลอดสุญญากาศเป็นวัสดุสร้าง ต่อมาเกิดมีการพัฒนาสิ่งประดิษฐ์ที่เป็นสารกึ่งตัวนำขึ้นที่ห้องปฏิบัติการของบริษัท Bell Telephone ได้เกิดทรานซิสเตอร์ตัวแรกขึ้น ต่อมาทรานซิสเตอร์ได้ถูกนำไปแทนหลอดสูญญากาศ จึงทำให้ขนาดของคอมพิวเตอร์เล็กลงและเกิดความร้อนน้อยลง (เครื่องที่ใช้ทรานซิสเตอร์ได้แก่ IBM 1401และ IBM 1620 )
    • [ พ.ศ.2508 ] วงจรคอมพิวเตอร์มีการเปลี่ยนแปลงอีกมากเมื่อมีวงจรรวม ( Integrated Circuit: IC) เกิดขึ้น ซึ่งไอบีเอ็มนี้ได้ถูกนำไปแทนที่ทรานซิสเตอร์ ในวงจรอิเล็กทรอนิกส์ของระบบคอมพิวเตอร์อีกครั้ง ซึ่งผลก็คือทำให้คอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กลง
    • [ พ.ศ.2514 ] บริษัท Intel ได้ใช้เทคโนโลยีของการผลิตวงจรรวมแบบ ( Large Scale Integrated Circuit :LSI ) ทำการรวมเอาวงจรที่ใช้เป็นหน่วยประมวลผลกลาง ( CPU) ของคอมพิวเตอร์มาบรรจุอยู่ในแผ่นไอซีเพียงตัวเดียวซึ่ง ไอซีนี้เรียกว่าไมโครโปรเซสเซอร์ ( Micropro cessor)
    • พ.ศ.2506] ประเทศไทยเริ่มมีคอมพิวเตอร์ใช้เป็นครั้งแรก โดยที่คอมพิวเตอร์เครื่องแรกในประเทศไทยได้ติดตั้งที่ ภาควิชาสถิติ คณะพานิชยศาสตร์และการบัญชีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องนี้คือ IBM 1620 ซึ่งได้รับมอบจากมูลนิธิเอไอดี และบริษัทไอบีเอ็ม แห่ง ประเทศไทยจำกัด ปัจจุบันหมดอายุการใช้งานไปแล้ว จึงได้มอบให้แก่ศูนย์บริภัณฑ์การศึกษาท้องฟ้าจำลองกรุงเทพฯ 
    •  พ.ศ.2507] เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องที่สองของประเทศไทยติดตั้งที่สำนักงานสถิติแห่งชาติ ในเดือนมีนาคม 2507


  • ประวัติของคอมพิวเตอร์

    สรุปประวัติคอมพิวเตอร์

    ต้นกำเนิดของคอมพิวเตอร์ได้มาจากแนวความคิดของระบบตัวเลข ซึ่งได้พัฒนาเป็นวิธีการคำนวณต่าง ๆ รวมทั้งอุปกรณ์ที่ช่วยในการคำนวณอย่างง่าย ๆ คือ" กระดานคำนวณ" และ "ลูกคิด"ในศตวรรษที่ 17 เครื่องคำแบบใช้เฟื่องเครื่องแรกได้กำเนิดขึ้นจากนักคณิตศาสตร์ชาวฝรั่งเศษ คือ Blaise Pascal โดยเครื่องของเขาสามารถคำนวณการบวกการลบได้อย่างเที่ยงตรง และในศตวรรษเดียวกันนักคณิตศาสตร์ชาวเยอร์มันคือ Gottried Wilhelm von Leibniz ได้สร้างเครื่องคิดเลขเครื่องแรกที่สามารถคูณและหารได้ด้วย ในต้นศตวรรษที่ 19 ชาวฝรั่งเศษชื่อ Joseph Marie Jacquard ได้พัฒนาเครื่องทอผ้าที่สามารถโปแกรมได้ โดยเครื่องทอผ้านี้ใช้บัตรขนาดใหญ่ ซึ่งได้เจาะรู้ไว้เพื่อควบคุมรูปแบบของลายที่จะปัก บัตรเจาะรู(punched card) ที่ Jacquard ใช้นี้ได้ถูกพัฒนาต่อๆมาโดยผู้อื่น เพื่อใช้เป็นอุปกรณ์ป้อนข้อมูลและโปรแกรมเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคต่อมาในศตวรรษเดียวกัน ชาวอังกฤษชื่อ Charles Babbage ได้ทำการสร้างเครื่องสำหรับแก้สมการโดยใช้พลังงานไอน้ำ เรียกว่า difference engine และถัดจากนั้นได้เสนอทฤษฎีเกี่ยวกับ คอมพิวเตอร์สมัยใหม่ เมื่อเขาได้ทำการออกแบบ เครื่องจักรสำหรับทำการวิเคราะห์ (analytical engine) โดยใช้พลังงานจากไอน้ำ ซึ่งได้มีการออกแบบให้ใช้บัตรเจาะรูของ Jacquard ในการป้อนข้อมูล ทำให้อุปกรณ์ชิ้นนี้มีหน่วยรับข้อมูล หน่วยประมวลผล หน่วยแสดงผล และหน่วยเก็บข้อมูลสำรอง ครบตามรูปแบบของคอมพิวเตอร์สมัยใหม่ แต่โชคไม่ดีที่แม้ว่าแนวความคิดของเขาจะถูกต้อง แต่เทคโนโลยีในขณะนั้นไม่เอื้ออำนวยต่อการสร้างเครื่องที่สามารถทำงานได้จริง อย่างไรก็ดี Charles Babbage ก็ได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาของคอมพิวเตอร์คนแรก และผู้ร่วมงานของเขาคือ Augusta Ada Byron ก็ได้รับการยกย่องว่าเป็นนักเขียนโปรแกรมคนแรกของโลกฮาร์ดแวร์ หมายถึง ส่วนที่ประกอบเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ รวมอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ที่เราสามารถมองเห็นและสัมผัสได้ เช่น ตัวเครื่อง จอภาพ คีย์บอร์ด และเมาส์ เป็นต้นเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลโดยทั่วไปจะมีฮาร์ดแวร์หลักๆ ประกอบด้วย

    วันพุธที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2553

    วงจรไฟฟ้าอย่างง่าย

    รูปแบบของวงจรไฟฟ้าภายในบ้าน
    ..........วงจรไฟฟ้าภายในบ้าน หมายถึง ทางเดินของกระแสไฟฟ้าที่จะไหลไปตามส่วนต่าง ๆ ของวงจรที่เป็นตัวนำ

    .......... การต่อวงจรไฟฟ้าในบ้าน หมายถึง การต่อความต้านทาน ซึ่งมีอยู่ 3 แบบ คือ

    .......... 1.1 การต่อความต้านทานแบบอันดับ หรือแบบอนุกรม
    ..................... เป็นการต่อความต้านทานเรียงกันไปตามลำดับ โดยที่ปลายสายของความต้านทานหรืออุปกรณ์ไฟฟ้า (หลอด) ของตัวที่หนึ่งต่อกับต้นสายของ
    ความต้านทานหรืออุปกรณ์ไฟฟ้า (หลอด) ของตัวที่สอง และอีกปลายหนึ่งของความต้านทานหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าตัวที่สองต่อกับต้นสายของความต้านทาน หรือ
    อุปกรณ์ตัวที่สามเรียงต่อกันไปอย่างนี้จนครบวงจร
    1.3 การต่อความต้านทานแบบผสม .........เป็นการต่อความต้านทานที่มีทั้ง 2 แบบในวงจรเดียวกัน
    2. อุปกรณ์และเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านที่จำเป็น
    .....2.1 อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้ภายในบ้าน

    ................2.1.1 เต้าเสียบ หรือเต้ารองรับ เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้เป็นจุดต่อของวงจรอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในบ้าน เพื่อความสะดวกในการใช้งาน
    เต้าเสียบที่ใช้ในบ้านเราจะมี 2 ช่อง แต่เต้าเสียบที่จะช่วยให้เกิดความปลอดภัยมากคือ เต้าเสียบแบบ 3 ช่อง เพราะช่องที่ 3 จะต่อกับสายดิน ซึ่งจะช่วย
    ให้เกิดความปลอดภัยในการใช้งาน
    ..............ลูกเสียบนี้จะต่อกับปลายสายไฟฟ้าที่ต่อเข้าอุปกรณ์ไฟฟ้าต่าง ๆ จะต้องต่อสายไฟเข้าขั้วต่อสายอย่างแข็งแรงและถูกต้องตามวิธี คือ ภายใน
    จะต้องผูกปมอย่างถูกวิธี



    ...............2.1.3 สวิตช์ไฟฟ้า.... เป็นอุปกรณ์สำหรับปิด-เปิดวงจรไฟฟ้า สวิตช์ไฟฟ้าที่ใช้ตามบ้านมีหลายแบบ ขึ้นอยู่กับบริษัทที่ผลิต
    แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ แบบฝัง (ใช้ฝังในผนัง) แบบที่ 2 แบบไม่ฝัง หรือเรียกว่า แบบลอย (Surface Switches) คือ ติดตั้งบนผนัง นิยม
    ใช้ในอาคาร ตามชนบททั่วไป เพราะราคาถูกและติดตั้งง่ายกว่าแบบฝัง

    คุณสมบัติของวงจรแบบอันดับหรืออนุกรม
    1. กระแสไฟฟ้าไหลผ่านความต้านทานแต่ละตัวมีค่าเท่ากัน

    2. แรงดันกระแสไฟฟ้าของวงจรทั้งหมดเท่ากัน แรงดันกระแสไฟฟ้าตกคร่อมของแต่ละความต้านทานรวมกัน
    1.2 การต่อความต้านทานแบบขนาน
    ......... การต่อความต้านทานแบบขนาน เป็นการต่อสายของความต้านทานแต่ละตัวไว้ที่เดียวกัน และปลายสายอีกด้านหนึ่งต่อร่วมกันไว้ที่เดียวกัน
    คุณสมบัติของการต่อวงจรแบบขนาน

    1. ความต้านทานแต่ละตัวได้รับแรงดันกระแสไฟฟ้าเท่ากัน

    2. กระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านความต้านทานแต่ละตัวมีค่าไม่เท่ากัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความต้านทานนั้น ๆ คือ ถ้ามีความต้านทานมาก
    ....กระแสไฟฟ้าจะไหลได้น้อย ถ้ามีความต้านทานน้อยกระแสไฟฟ้าจะไหลได้มาก

    3. ผลรวมของกระแสไฟฟ้าที่แยกไหลผ่านแต่ละความต้าน เมื่อรวมกันแล้วจะเท่ากับกระแสไฟฟ้าของวงจร

    4. ความต่างศักย์ไฟฟ้าบนความต้านทานแต่ละเส้น จะมีค่าเท่ากัน และเท่ากับความต่างศักย์ไฟฟ้ารวมทั้งวงจร
    วงจรไฟฟ้าภายในบ้านนิยมแบบขนาน เนื่องจากถ้ามีอุปกรณ์ไฟฟ้าตัวใดตัวหนึ่งขาด อุปกรณ์ไฟฟ้าที่เหลือก็จะใช้งานได้
    1.4 แผนผังการต่อวงจรไฟฟ้าในบ้าน ......การต่อไฟฟ้าในบ้านเริ่มต้นจากสายไฟฟ้าใหญ่ลงมาที่มาตรไฟฟ้าจากมาตรไฟฟ้าต่อเข้า
    ...........คัตเอาท์และฟิวส์ สายที่ต่อจากฟิวส์เป็นสายประธาน ซึ่งสามารถต่อแยกไปยังส่วนต่าง ๆ ของอาคารได้

    ...........2.1.2 ลูกเสียบ (ปลั๊กเสียบ).... เป็นอุปกรณ์ที่ต่อกับสายของเครื่องใช้ไฟฟ้า มี 2 แบบ คือ ลูกเสียบแบบ 2 ขา ซึ่งจะใช้กับเต้าเสียบ 2 ช่อง
    กับลูกเสียบแบบ 3 ขา ซึ่งจะใช้กับเต้าเสียบที่มี 3 ช่อง
    .........การต่อสวิตช์ไฟฟ้าจำเป็นต้องต่อให้ถูกวิธี คือ จะต้องต่อสายมีไฟเข้าสวิตช์ เพราะเมื่อปิดไฟ (Close switch) แล้วสามารถซ่อมหรือแก้ไขหลอดไฟ
    ได้อย่างปลอดภัย
    ....2.2 เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน

    .................เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านมีหลายประเภททั้งที่ให้แสงสว่าง ความร้อน และประเภทที่ใช้มอเตอร์ อุปกรณ์ไฟฟ้าแต่ละอย่างจะมีวิธีใช้และการบำรุง
    รักษาที่แตกต่างกัน ดังนั้น ผู้ใช้จะต้องรู้จักวิธีใช้อย่างถูกต้องปลอดภัย ประเภทของเครื่องใช้ไฟฟ้า มีดังนี้

    .................... 2.2.1 เครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทให้ความร้อนที่ควรรู้จัก คือ

    ................................. 1) เตารีดไฟฟ้า เตารีดไฟฟ้ามีหลายแบบ แบบที่นิยมใช้คือ แบบปรับความร้อนโดยอัตโนมัติธรรมดา และแบบปรับความร้อน
    อัตโนมัติมีไอน้ำ
    ........ส่วนประกอบของเตารีดไฟฟ้า แบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ

    .......... 1. ส่วนที่ให้ความร้อน ประกอบด้วย ลวดนิโครม ซึ่งเป็นโลหะผสมระหว่างนิกเกิลกับโครเมียม ซึ่งเป็นโลหะที่มี
    ความต้านทานสูง และจุดหลอมเหลวสูงเป็นตัวจ่ายความร้อน และแผ่นไมก้า ซึ่งเป็นฉนวนความร้อน
    ...........2. ส่วนที่ควบคุมความร้อน หรือที่เราเรียกว่า เทอร์โมสตาร์ต ประกอบด้วยโลหะที่มีความจุความร้อนต่างกัน 2 แผ่น ประกบ
    ติดกัน เมื่อได้รับความร้อนเท่ากัน การขยายตัวจะต่างกัน ทำให้แผ่นโลหะโค้งขึ้น วงจรปิด กระแสไฟฟ้าไม่ไหลผ่าน เมื่ออุณหภูมิลดลง
    แผ่นโลหะก็จะกลับเหมือนเดิม วงจรเปิด กระแสไฟฟ้าไหลผ่านได้ ซึ่งการทำงานจะเป็นดังนี้ตลอดการใช้งาน
    2.2.2 หม้อหุงข้าวไฟฟ้า มีหลายแบบแตกต่างกันไปตามบริษัทผู้ผลิต ส่วนประกอบของหม้อหุงข้าวไฟฟ้า มีดังนี้
    ..................หลักในการทำงาน
    ...............หม้อหุงข้าวไฟฟ้าประกอบด้วยส่วนสำคัญ 2 ส่วน คือ

    - ส่วนที่ให้ความร้อน ประกอบไปด้วยแผ่นโลหะที่มีความต้านทานสูง และจุดหลอมเหลวสูง

    - ส่วนควบคุมอุณหภูมิหรือเทอร์โมสตาร์ต ประกอบด้วยโลหะที่มีความจุความร้อนต่างกัน 2 แผ่นประกบติดกันอยู่

    ............... การทำงานเมื่อปล่อยกระแสไฟฟ้าผ่านเข้าไปในหม้อหุงข้าว ไฟฟ้าจะทำให้แผ่นความร้อนส่งผ่านพลังงานความร้อนไปยังหม้อใน และเมื่อ
    อุณหภูมิสูงจนถึงที่กำหนดไว้ เทอร์โมสตาร์ตก็จะตัดวงจร ทำให้ไม่มีกระแสไฟฟ้าไหลในวงจรที่ผ่านแผ่นความร้อน

    ....2.3 เครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทใช้มอเตอร์

    .....................2.3.1 พัดลมไฟฟ้า พัดลมไฟฟ้ามีหลายแบบ หลายบริษัทผู้ผลิต เช่น แบบตั้งโค๊ะ แบบตั้งพื้น แบบโคจร เป็นต้น
    ....2.4 เครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทให้แสงสว่าง ไฟฟ้าแสงสว่างที่นิยมใช้ในบ้านพักอาศัยมีอยู่ 2 แบบ คือ

    ...................... 2.4.1 หลอดชนิดไส้ (Incandescent Lamp) หมายถึง หลอดไฟฟ้าที่ไส้หลอดทำด้วยโลหะทังสเตนภายในเป็นสูญญากาศ การใช้
    จะต้องเสียบลงในขั้วหลอด ซึ่งมีทั้งแบบเกลียว และแบบเขี้ยว หลอดไฟฟ้าขนาดต่าง ๆ บอกกำลังไฟฟ้าเป็นวัตต์
    ......................2.4.2 หลอดวาวแสงหรือหลอดฟลูออเรสเซนต์ ....เป็นหลอดมีไส้อีกชนิดหนึ่ง ประกอบด้วยส่วนสำคัญ คือ รางหลอด ขั้วหลอด
    บัลลาสต์ และสตาร์ตเตอร์สวิตช์ ซึ่งต่อเป็นวงจร
    ......1) บัลลาสต์ เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของหลอดวาวแสง เพราะเป็นตัวจำกัดกระแสไฟฟ้า ทำให้หลอดมีอายุยืน มีขนาด
    40 วัตต์ 32 วัตต์ (สำหรับหลอดกลม) และ 20 วัตต์ ปัจจุบันมีนโยบายประหยัดพลังงาน บริษัทได้ผลิตบัลลาสต์ชนิดประหยัด
    พลังงานไฟฟ้า เรียกว่า “โลลอสบัลลาสต์” (Low Loss Ballast) เป็นบัลลาสต์ที่มีการสูญเสียกำลังงานไฟฟ้าต่ำกว่าบัลลาสต์
    ธรรมดา เป็นการประหยัดไฟฟ้าได้ 4 - 6 วัตต์ต่อ 1 หลอด คิดเป็น 40 เปอร์เซนต์ของบัลลาสต์แบบเดิม
    ......2) สตาร์ตเตอร์ เป็นอุปกรณ์ประกอบวงจรหลอดวาวแสง ขาหลอดจะออกแบบไว้ใส่สตาร์ตเตอร์ โดยเฉพาะสตาร์ตเตอร์มี
    หน้าที่ต่อวงจร เพื่ออุ่นไส้หลอดเกิดอิเล็กตรอนไหลในหลอด แล้วสตาร์ตเตอร์จะตัดวงจรโดยอัตโนมัติโดยอาศัยหลักการขยายตัวของ
    โลหะต่างชนิดกัน เรียกว่า แผ่นไบเมทอล (Bimetallic strip)
    การทำงานของหลอดไฟฟ้า

    ............. ภายในหลอดฟลูออเรสเซนต์ สูบอากาศออกให้เหลือความดันประมาณ 1/6 ของบรรยากาศ แล้วหยดไอปรอทลงไป ผนังหลอด
    ฉาบสารเรืองแสง (ฟลูออ) เมื่อมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านวงจรผ่านบัลลาสต์ จะทำให้เกิดแรงดันกระแสไฟฟ้าสูง อิเล็กตรอนจะหลุดออกจาก
    ไส้หลอดด้านหนึ่งผ่านหลอดไปยังอีกขั้วหลอดที่อยู่ตรงข้าม ซึ่งช่วงนี้บัลลาสต์จะลดแรงดันกระแสไฟฟ้าลง สตาร์ตเตอร์สวิตช์ก็เปิดวงจร
    ไฟฟ้า ขณะที่อิเล็กตรอนผ่านและชนโมเลกุลของไอปรอท ทำให้เกิดแสงอัลตราไวโอเลต ซึ่งทำให้เกิดการเรืองแสงในหลอด

    หลอดวาวแสงหรือหลอดฟลูออเรสเซนต์

    ............. มีขนาดต่าง ๆ เช่น 20 วัตต์ 32 วัตต์ และ 40 วัตต์ ปัจจุบันบริษัทผู้ผลิตได้คิดประดิษฐ์หลอดไฟฟ้าแบบประหยัดขึ้นเพื่อโครงการ
    ประหยัดพลังงานคือ

    1. หลอดคอมแพคฟลูออเรสเซนต์ (หลอดตะเกียบ)

    2. หลอดประหยัดไฟฟ้า (แบบผอม) ขนาด 18 วัตต์ แทนหลอดไฟฟ้าขนาด 20 วัตต์ (แบบอ้วน) ซึ่งประหยัดไฟฟ้า 2 วัตต์ คิดเป็น
    ..... 10 เปอร์เซนต์ของหลอดอ้วน (20 วัตต์) ซึ่งให้แสงสว่างเท่ากัน

    3. หลอดประหยัดไฟ 36 วัตต์ (หลอดผอม) แทนหลอดไฟฟ้าแบบอ้วน (40 วัตต์) ประหยัดไฟฟ้า 4 วัตต์ คิดเป็น 40 เปอร์เซนต์
    ..... ของหลอดอ้วน (40 วัตต์) ซึ่งให้แสงสว่างเท่ากัน

    3 การใช้ไฟฟ้าอย่างประหยัด
    การประหยัดพลังงานไฟฟ้าอาจจะทำได้ดังนี้

    1. ใช้หลอดวาวแสงแบบประหยัด (หลอดผอม)

    2. ปิดไฟฟ้าเมื่อไม่ใช้งาน ก่อนถอดปลั๊กไฟต้องปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าก่อนเสมอ

    3. ใช้แสงสว่างเท่าที่จำเป็น

    4. ใช้หลอดไฟฟ้าวัตต์ต่ำ

    5. ออกแบบโคมไฟฟ้าที่มีกำลังสะท้อนแสงสูง

    6. หมั่นทำความสะอาดโคมไฟฟ้า

    7. หลีกเลี่ยงใช้สีทึบแสงในอาคารต่าง ๆ

    8. ประหยัดไฟฟ้าในระบบทำความเย็น
    .................- เลือกใช้ตู้เย็นขนาดต่ำพอเหมาะหรือเลือกใช้ตู้เย็นแบบประหยัดไฟฟ้า
    .................- ลดภาระความร้อนของเครื่องปรับอากาศ เช่น ความร้อนจากภายนอกห้องและความร้อนภายในห้อง
    .................- เลือกใช้เครื่องปรับอากาศที่เหมาะสม

    9. เลือกใช้โทรทัศน์ขนาดเหมาะสม

    วันพุธที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2553

    การนำเทคโนโลยีชีวภาพมาใช้ในการเกษตร

    ความหมาย
     คือ ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการประยุกต์ใช้สิ่งมีชีวิต หรือผลิตภัณฑ์ต่างๆ ของสิ่งมีชีวิต เช่น เอนไซม์ หรือโปรตีนชนิดต่างๆ เป็นต้น เพื่อให้เกิดประโยชน์กับมนุษยชาติ




    ความรู้ทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพอาจก่อให้เกิดกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางเคมีและทางชีวภาพของสิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆ ส่งผลให้เกิดกระบวนการสร้าง กระบวนการทำลาย หรือการก่อให้เกิดสิ่งใหม่ที่ดำเนินอยู่ในสิ่งมีชีวิต ซึ่งกระบวนการ ทางชีวเคมีที่เกิดขึ้นภายในเซลล์ของสิ่งมีชีวิต เป็นผลมาจากการทำงานของสารพันธุกรรม หรือดีเอ็นเอ และหน่วยพันธุกรรมหรือยีน การศึกษางานด้านเทคโนโลยีชีวภาพจึงต้องอาศัยความรู้พื้นฐาน เกี่ยวกับสารพันธุกรรม และพฤติกรรมของสารพันธุกรรม รวมทั้งวิธีการสำคัญต่างๆที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกระบวนการด้านเทคโนโลยีชีวภาพเพื่อการ นำไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพ




    ประโยชน์
    1. เทคโนโลยีชีวภาพ เพื่อการเกษตร คือ การพัฒนาและปรับปรุงพันธุ์พืช โดยวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อและเซลล์พืช การตัดแต่งยีน ตัวอย่างเช่น การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเพื่อขยายพันธุ์กล้วยไม้ การตัดแต่งยีนเพื่อการพัฒนาพันธุ์พืชต้านทานต่อศัตรูพืชหรือโรคพืช การพัฒนาผลไม้ให้สุกงอมช้า



    2. เทคโนโลยีชีวภาพ เพื่ออุตสาหกรรมอาหาร คือ การเพิ่มคุณค่าผลผลิตของอาหาร ตัวอย่างเช่น การลดปริมาณโคเลสเตอรอลในไข่แดง การทำให้โคและสุกรเพิ่มปริมาณเนื้อ



    3. เทคโนโลยีชีวภาพ เพื่อสิ่งแวดล้อม คือ การลดการใช้สารเคมีที่เป็นผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม ตัวอย่างเช่น การนำของเสียจากสิ่งมีชีวิตไปทำปุ๋ยหรือการผลิตปุ๋ยชีวภาพจากสารอินทรีย์ การใช้จุลินทรีย์ในการกำจัดขยะหรือน้ำเสีย



    4.เทคโนโลยีชีวภาพ ด้าน เทคโนโลยีการแพทย์เพื่อสุขภาพ ตัวอย่างเช่น การผลิตวัคซีนป้องกันโรค การผลิตโมโนโคลนอลแอนติบอดีเพื่อตรวจวินิจฉัยโรคและการเยียวยารักษา การใช้เทคโนโลยีดีเอ็นเอตรวจสอบโรคทางพันธุกรรม การผลิตยาจากผลิตภัณฑ์จากสิ่งมีชีวิต